รับข่าวสารล่าสุดจาก Instagram
เริ่มหาแรงบันดาลใจผ่านประกาศ เคล็ดลับ และเรื่องราวความสำเร็จบนบล็อกของเรา
แรงบันดาลใจ
ป้อนความคิดสร้างสรรค์: วัฒนธรรมอาหารบน Instagram กำลังเปลี่ยนไปในทิศทางใด
โดย: ทีม Instagram Business
ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย
จำวันเก่าๆ ในมื้อค่ำวันอังคารที่เราต้องเสียเวลาอบเนื้อสดจากเตาถึงสองชั่วโมงได้ไหม... เราก็จำไม่ได้เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะว่ามื้ออาหารได้เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นอาหารที่เร็วขึ้นซึ่งก็มีเหตุผลส่วนใหญ่มาจากมือถือนั่นเอง
มือถือได้เปลี่ยนคำนิยามการเชื่อมต่อของโลกกับอาหารด้วยวิธีการค้นพบ การเลือกซื้อ และการแชร์อาหารแนวใหม่ไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะบน Instagram ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารสุดโปรด หรือทางออนไลน์ ผู้คนใช้มือถือในการซื้ออาหารทุกหนทุกแห่ง และสำหรับ Instagram ที่มีการสำรวจผู้คนถึง 81% กล่าวว่าตนเป็นผู้ซื้ออาหาร และมีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารบนสมาร์ทโฟนถึง 2 เท่า1 ปฏิสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปนี้ช่วยสร้างโอกาสให้นักการตลาดมีความโดดเด่นขึ้นและกระตุ้นการดำเนินการผ่านมือถือมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้เข้าใจว่าดีขึ้นว่ามือถือช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้โลกของการลิ้มลองบน Instagram ได้อย่างไร เราจึงร่วมมือกับกลุ่มข้อมูลเชิงลึก Facebook IQ ของเราเพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ในวงการอาหารทั้ง2ที่จะป้อนความคิดสร้างสรรค์ในชุมชนนักชิมในสหรัฐฯ
เมื่อผู้คนนึกถึง #food3 จากมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อค่ำแบบเก่าๆ เราพบว่าพฤติกรรมการกินเล่นได้เปลี่ยนนิสัยการกินแบบเดิมๆ ไป ทำให้การทำอาหารมีความรวดเร็วขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์และภาระหน้าที่ ผู้บริโภค (ในสหรัฐฯ) มีแนวโน้มที่จะรับประทานของว่างแทนอาหารมากขึ้น 63% ในขณะที่ 84% เลือกที่จะทานของว่างระหว่างมื้ออาหารแทน4 แต่ไม่ใช่เพียงแค่พฤติกรรมการทานของว่างเท่านั้นที่เปลี่ยนไป ความหมายของของว่างก็เปลี่ยนไปด้วย
ในวัฒนธรรมที่อะไรๆ ก็รีบเร่งนี้ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้บริโภคเกือบ 4 ใน 10 คนในสหรัฐฯ เห็นด้วยว่าอาหารประเภทไหนก็ถือเป็นอาหารว่างได้5 และขณะที่ผู้คนกำลังทาน #snacks อยู่6 ก็ยังมีการพูดถึงอาหารที่เคยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหาร เช่น สลัด เฟรนช์ฟรายส์ และแซนด์วิช7
ความสะดวกเป็นสิ่งกระตุ้นทางเลือกในการรับประทานอาหารของผู้คนให้มาเลือกซื้อและเตรียมอาหารด้วยวิธีใหม่ๆ แทนที่จะวางแผนชีวิตของตนตามอาหาร ผู้คนหันมาใช้สินค้าที่ช่วยประหยัดเวลาเพื่อปรุงแต่งอาหารให้เข้ากับชีวิตของตน การเลือกซื้อของชำทางออนไลน์ในสหรัฐฯ เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมนี้เท่านั้น ระหว่างปี 2014 และ 2016 จำนวนคนที่กล่าวว่าได้ซื้อของชำทางออนไลน์และจะซื้ออีกมีมากขึ้นถึงสองเท่า8 โดยบน Instagram ผู้คน 2.6 เท่ามีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารหีบห่อทางออนไลน์9
ในลักษณะที่คล้ายกัน ความจำเป็นเกี่ยวกับความสะดวกก็อาจเป็นส่วนขับเคลื่อนให้มีชุดมื้ออาหาร (บริการสมัครสมาชิกเช่น Blue Apron หรือ Plated) และบริการจัดส่งอาหารผ่านแอพเพิ่มขึ้น และการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ได้แสดงว่า โดยเฉลี่ยแล้ว กระบวนการซื้ออาหารที่มีความสะดวกมากขึ้นจะทำให้ผู้คนยินยอมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 11%10
สำหรับ #foodies11 บน Instagram แล้ว แหล่งอาหารและข้อมูลพื้นหลังมีความสำคัญพอๆ กับรูปภาพและรสชาติ ผู้คนต่างก็ต้องการให้อาหารที่ตนรับประทานมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นทั้งในด้านส่วนผสมและรากเหง้าทางวัฒนธรรม ตั้งแต่อิทธิพลจากภูมิภาค ไปจนถึงแหล่งจากธรรมชาติ นักกินที่มีจิตสำนึกต่างก็มีส่วนในการเปลี่ยนทางเลือกของอาหารและพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องปรุงต่างๆ เช่น เครื่องเทศ ส่วนผสมในขนมอบ และรสชาติอาหารนานาชาติ
มัทฉะ ผงชาเชียวพิเศษจากญี่ปุ่นเป็นหนึ่งตัวอย่างของเครื่องปรุงในตลาดที่กำลังเติบโตนี้ มัทฉะเริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มคนอายุน้อยในสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป 12 จึงมีการกล่าวถึงบน Instagram มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยคุณค่าด้านโภชนาการ รวมทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงามดูดีต่อสุขภาพ Cha Cha Matcha (@chachamatcha) ร้านชาในนิวยอร์กซิตี้ ได้จับกระแสมัทฉะนี้โดยใช้ผสมในเครื่องดื่มรวมทั้งโพสต์บนฟีด Instagram
ในขณะที่มือถือยังคงเปลี่ยนโลกที่หมุนรอบตัวเราไปเรื่อยๆ นักการตลาดอาหารจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงอิทธิพลและวิธีที่ Instagram จะเชื่อมต่อแบรนด์เข้ากับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะทำผ่านเรื่องราว ฟีด หรือเครื่องมือสร้างสรรค์อื่นๆ แพลตฟอร์มของเราได้เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนค้นพบ เลือกซื้อ และแชร์อาหารใหม่ๆ บนมือถือ
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิพลที่มือถือมีต่อรสนิยมและพฤติกรรมด้านอาหารของผู้คน โปรดไปที่ Facebook IQ เพื่ออ่านบทความฉบับเต็ม พร้อมดูว่าแบรนด์อาหารอื่นๆ เช่น Teddy และ DiGiorno พบความสำเร็จบน Instagram ได้อย่างไรโดยดูเรื่องราวของพวกเขาได้ที่นี่
โดย: ทีม Instagram Business
ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย